วันแม่ 2566 เช็กสิทธิบัตรทอง “คนท้อง” คุ้มครองได้ตั้งแต่ฝากครรภ์-คลอดบุตร
ว่าที่คุณแม่ที่ไม่มีสิทธิประกันสังคม หรือสวัสดิการการรักษาพยาบาลต่างๆ ไม่ต้องกังวลไป เพราะคนไทยทุกคนสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “สิทธิบัตรทอง”
แต่แล้วหญิงตั้งครรภ์จะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง และมีเงื่อนไขการใช้สิทธิอย่างไร ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากทุกคนกันดังนี้
สิทธิบัตรทองของหญิงตั้งครรภ์ รักษาฟรี
หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างช่วงหลังคลอดที่ต้องการบำรุงครรภ์ไปจนถึงตรวจคัดกรองโรค
รวมสิทธิประกันสังคม “ว่าที่คุณแม่-คุณพ่อ” ได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024
วันแม่2566 : เปิดที่มา "วันแม่" เกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีประเทศใดบ้าง
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ได้มีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ให้สิทธิประโยชน์เข้ารับบริการได้ฟรี ดังต่อไปนี้
- ทดสอบการตั้งครรภ์ ตรวจครรภ์ ประเมินความเสี่ยง และตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์
- คลอดบุตร (คลอดเองตามธรรมชาติ/ผ่าตัดคลอด) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- ตรวจคัดกรองภาวะซีด เอชไอวี ตับอักเสบบี และดาวน์
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก โฟลิก และไอโอดีน
- ประเมินสุขภาพจิต โดยประเมินความเครียด คัดกรองโรคซึมเศร้า และปัญหาการดื่มสุรา
- ตรวจร่างกายหลังคลอด
- คุมกำเนิด
- การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
- ตรวจช่องปากและฟัน ขัดและทำความสะอาดฟัน รวมถึงการขูดหินน้ำลาย
- การคัดกรองธาลัสซีเมียในคู่ของหญิงตั้งครรภ์ การคัดกรองซิฟิลิส ในคู่ของหญิงตั้งครรภ์
สิทธิ “ประกันสังคม” ใช้คู่กับ “บัตรทอง” ไม่ได้
โดยปกติแล้วผู้ที่มีนายจ้างตามกฎหมายจะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ทั้งหมด ดังนั้นแล้วจะเปลี่ยนมาใช้สิทธิบัตรทองได้ต่อเมื่อ “ลาออกจากงาน” หรือ “ว่างงาน” แล้วไม่ได้ส่งเงินสมทบต่อตามมาตรา 39 สิทธิประกันสังคมเท่านั้น
อย่างไรก็ตามสิทธิประกันสังคมจะคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ดังนั้นเราจึงจะสามารถเปลี่ยนมาใช้สิทธิบัตรทองได้หลังจากพ้นระยะ 6 เดือนเท่านั้น ซึ่งเราสามารถลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการได้ หรือกรณีที่ไม่ได้ลงทะเบียน ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะลงทะเบียนแทนให้ เพียงแต่อาจไม่ได้หน่วยบริการที่ถูกใจเราเท่านั้น แต่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการทีหลังไม่ได้ เพราะในทุกๆ ปีเราสามารถลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ
เช็กสิทธิบัตรทอง เรามีหรือยัง
สำหรับผู้ที่ไม่ทราบสิทธิบัตรทองของตนเองนั้นอยู่สถานพยาบาลใด มีวิธีเช็ก 2 วิธี ได้แก่
1.)เว็บไซต์ สปสช. (www.nhso.go.th)
เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์แล้ว ให้กรอกเลขบัตรประชาชน, วันเดือนปีเกิด และข้อความตัวอักษรเพื่อเข้าสู่ระบบ
2.)ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “สปสช.” เพื่อเช็กสิทธิหน่วยบริการบัตรทอง
สมัครใช้สิทธิบัตรทอง
หากต้องการสมัครรสิทธิ“บัตรทอง”ให้ตัวเองหรือคนในครอบครัว สามารถสมัครได้ที่สำนักงานเขต ในกรุงเทพมหานคร และสำนักงานบัตรทองใกล้บ้าน มีขั้นตอนดังนี้
- สมัครที่สำนักงานใกล้บ้าน
- เตรียมเอกสาร ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร) และ สำเนาทะเบียนบ้าน กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ใช้เอกสารเพิ่ม 2 อย่าง ประกอบด้วย สำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย และ หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือ หนังสือรับรองของผู้นำชุมชนว่าได้ไปพักอยู่อาศัยจริง
- ตรวจสอบสถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้าน คลิกwww.report.nhso.go.th/hospital_search/Search.jsp
- ตรวจสอบสถานะการสมัคร และสถานพยาบาลที่เกิดสิทธิ
- สมัครผ่านช่องทางออนไลน์
กรณีสมัครผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.นั้น จะต้องเตรียมบัตรประชาชน และดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน มีขั้นตอนดังนี้
- ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
- เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช” จากนั้นกดปุ่ม “ลงทะเบียน”
- กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
- กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป
- เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน คลิกเลือก “ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันฯ”
- ตรวจสอบที่อยู่ปัจจุบันตรงกับหน้าบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่ กด “ไม่ตรง” หรือ “ตรง”
- ถ่ายรูปบัตรประชาชน
- ถ่ายรูปตัวเองถือบัตรประชาชน
- แนบหลักฐานแสดงที่อยู่ปัจจุบัน และเอกสารอื่น ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
- กรอกที่อยู่ปัจจุบัน
- เลือกเครือข่ายหน่วยบริการ
เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จแล้ว ตรวจสอบสถานะลงทะเบียน ตามรอบการลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน เมื่อระบบรับข้อมูลการลงทะเบียนและตรวจสอบหลักฐานแล้ว รอเกิดสิทธิตามรอบที่ระบุไว้ในแอปพลิเคชัน โดยจะมีข้อความส่งมาแจ้งเตือนเขียนว่า “ขณะนี้สิทธิของท่านได้รับการลงทะเบียน”
วิธีเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ
เราสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิบัตรทองได้ด้วยตัวเอง 2 ช่องทาง คือ
1.) แอปพลิเคชัน สปสช.
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “สปสช.” ได้ทั้งระบบ ios และ Android
- เลือก “เปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตัวเอง”
2.) ไลน์ OA สปสช.
- แอดไลน์ สปสช. พิมพ์ค้นหาไลน์ไอดี @nhso
- เลือก “เปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตัวเอง”
การใช้สิทธิเข้ารับบริการ
1.) ติดต่อหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิบัตรทอง
2.) แจ้งความจำนงใช้สิทธิบัตรทองก่อนรับบริการ
3.) แสดงบัตรประชาชน
ใช้สิทธิบัตรทองนอกพื้นที่ คลอดลูกได้ฟรีเช่นกัน
กรณีเจ็บท้องฉุกเฉิน ว่าที่คุณแม่ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้ว หลัง สปสช.ได้ยกระดับให้กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุสมควรรักษาที่หน่วยบริการในสังกัดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ โดยไม่ต้องเป็นต้องเสียเงิน และไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เพีนงแค่แสดงความจำนงก่อนเข้ารับบริการและยื่นบัตรประชาชนเท่านั้น
ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรสายด่วน สปสช.ได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nsho